“ตรวจสอบราคา ลดต้นทุน เพิ่มกำไร” สามารถเช็คประวัติ การสั่งซื้อสินค้าได้ ช่วยบริหารงานด้านจัดซื้อทั้งหมดให้เป็นระบบ วิเคราะห์เจ้าหนี้แต่ละราย เพื่อต่อรองราคา วิเคราะห์สินค้าที่ซื้อ เพื่อตรวจสอบราคาและจัดซื้อสินค้าได้ในราคาที่ดีที่สุด
“สต็อคไม่ขาด โอกาสไม่หาย ขายได้ต่อเนื่อง” สามารถตรวจสอบ ต้นทุนสินค้า การจัดเก็บที่รวดเร็ว จัดการบริหารคลังสินค้า การตรวจเช็คสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead stock) จำนวนขั้นต่ำที่ต้องสต็อค การเช็คสินค้าที่ต้องสั่งซื้อเร่งด่วน เป็นต้น และรองรับ Barcode ได้
“เงินทองไม่รั่วไหล เช็คความเคลื่อนไหวได้ทันที” เจ้าของไม่จำเป็น ต้องมานั่นคุมแกะเก็บเงิน เพราะระบบสามารถควบคุมการรับจ่ายเงินได้ สามารถเช็คหรือตรวจสอบได้ ว่าเงินถูกจ่ายไปทางไหน จ่ายค่าอะไร เป็นจำนวนเงินเท่าไร จึงติดตามการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดได้ทันที
“ป้องกันการทุจริต ลดความเสี่ยง ได้งบเร็ว” ผู้บริหารสามารถ ได้รับรายงานงบการเงินที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น เรียกดูงบการเงินได้ทันที ที่บันทึกเอกสารรายวัน วิเคราะห์รายงานกำไรขาดทุน รายงานค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากข้อมูลที่ส่งมาจากทุกฝ่าย หรือทุกสาขาของบริษัท
ที่มา : IPO Guide Book : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าเราดำเนินธุรกิจในลักษณะใด ธุรกิจซื้อมาขายไป หรือธุรกิจบริการ เนื่องจากมีเกณฑ์จุดความรับผิดชอบในภาษีมูลค่าเพิ่มต่างกัน การออกเอกสารการค้าจึงต่างกันไปด้วย
1) ธุรกิจขายสินค้า ซื้อมาขายไป
ตามระเบียบกรมสรรพากรต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อส่งมอบสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะขายเครดิตหรือขายเงินสดเมื่อส่งมอบสินค้าแล้วต้องออกใบกำกับภาษีทันที เอกสารที่ใช้จึงเป็น ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี จะรวมอยู่ในใบเดียวกันหรือจะแยกก็ได้
* จะเห็นว่าผู้ขายต้องรับภาระภาษีแล้ว แม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม(กรณีขายเครดิต)
ตัวอย่าง ขั้นตอนการออกเอกสาร
* หากต้องการลดขั้นตอนการทำงาน ในขั้นตอนการวางบิลลง อาจจะออกแบบเอกสารเป็น ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้
2) ธุรกิจบริการ
จะออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับเงิน ดังนั้นเมื่อส่งมอบงานบริการ ก็จะออกเป็น ใบแจ้งหนี้ เพื่อเรียกเก็บเงินไปก่อนและเมื่อถึงกำหนดรับชำระหนี้ ก็จะออกเป็น ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
ตัวอย่าง ขั้นตอนการออกเอกสาร
สำหรับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว และเข้าสู่ระบบนิติบุคคล การออกเอกสารการค้า เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเข้าใจความหมายของเอกสารทางการค้าแต่ละชนิด ดังต่อไปนี้
ใบแจ้งหนี้ ( Invoice)
คือ เอกสารที่ออกโดยบริษัทผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ แจ้งหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าที่ยังไม่ชำระเงิน หรือแจ้งในวันครบกำหนดการชำระเงิน สำหรับธุรกิจบริการ โดยในวันเสร็จงานจะออกเอกสารใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้า และในวันที่ลูกค้าชำระเงินจะออกใบเสร็จและใบกำกับภาษีลงวันที่ตามวันที่จ่ายเงินให้ลูกค้า
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)
คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note)
คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะเหตุการณ์ตามที่ ระบุไว้ในมาตรา 82/9 ออกใบเพิ่มหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีที่เหตุการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ที่ไม่สามารถออกใบเพิ่มหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบเพิ่มหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ใบเพิ่มหนี้ถือเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
ใบลดหนี้ หรือใบส่งคืน (Credit Note)
เป็นเอกสารสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามีการขายสินค้าโดยส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อไปแล้วถ้าต่อมาปรากฏว่ามูลค่าสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ถ้าออกใบลดหนี้โดยไม่มีเหตุการณ์ที่กฎหมายกำหนดไว้นี้ จะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า)
ใบวางบิล (Billing Note)
หมายถึง เมื่อจบเดือน ซัพพลายเออร์จะต้องรวบรวมรายการสั่งของที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเดือนนั้นใส่ใบแจ้งหนี้แล้วนำไปแจ้งหนี้นั้นมายื่นให้กับฝ่ายบัญชีของ บริษัทผู้ซื้อสินค้าเพื่อขอเก็บเงินสด ซึ่งบริษัทจะจ่ายเงินสดให้หลังจากวางบิลแล้วกี่วันก็แล้วแต่ตกลงกันไว้ว่าจะให้เครดิตกันกี่วัน
ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) หรือ ใบเสร็จ
เป็นเอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว การออกเอกสารดังกล่าวบางกรณีอาจออกเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในใบเสร็จรับเงินทั่วไปมักระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันและราคาที่ตกลงชำระ ซึ่งอาจระบุข้อมูลภาษีที่เกี่ยวข้องที่ผู้รับชำระเงินเก็บและนำส่งรัฐบาลอีกด้วย ใบเสร็จรับเงิน ยังหมายถึง เอกสารที่บริษัทออกให้กับลูกค้าที่ชำระเงินให้กับบริษัทตามใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว
E-Tax Invoice by E-mail คืออะไร
การจัดทำใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ให้อยู่ในรูปของอิเล็คทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วทำการส่งผ่านระบบกลางของ สพธอ. (ETDA) เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยจดหมายอิเลิกทรอนิกส์ (E-mail)
โครงการ e-Tax Invoice by Email เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ไม่มีการบริหารจัดการด้านเอกสารที่เป็นระบบขนาดใหญ่ และอาจยังไม่พร้อมจะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนและสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการสามารถจัดทำ และนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้กับคู่ค้าทาง Email ผ่านการประทับรับรองเวลาและเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตต่อไป
คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะจัดทำ e-tax Invoice by Email
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และส่งอีเมลร่างใบกำกับภาษีดังกล่าว พร้อมสำเนา CC มายังระบบ [email protected] เพื่อระบบจะได้ทำการประทับเวลาแล้วจึงส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ประทับเวลาแล้วไปยังอีเมลของผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นเอกสารในการเสียภาษีโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
ขั้นตอนการสมัครระบบ e-Tax Invoice by Email
ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรตามแบบ ก.อ.๐๑ โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีจัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษี
ระบบ e-Tax Invoice by Email เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัย เพราะมีการพัฒนาระบบตามมาตรฐานของการรับส่งอีเมลที่มีการตรวจสอบการปลอมแปลงอีเมลตามรูปแบบ SPF (Sender Protocol Framework) และ Domain Key validation สำหรับข้อมูลของระบบนั้นได้รับการจัดเก็บที่หน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงมีประทับรับรองเวลาดิจิทัล (Digital Timestamping) กับใบกำกับฯ ด้วยเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure ซึ่งจะช่วยให้ธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและคู่ค้า ช่วยลดขั้นตอนวุ่นวายแบบเดิมๆ และยังลดปัญหาเอกสารใบกำกับภาษี ตกหล่น สูญหาย หรือความล่าช้าของการได้รับใบกำกับภาษีอีกด้วย ถ้าใช้ระบบนี้แล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นกระดาษ สามารถนำส่งและจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยและสามารถใช้วิธีการนี้ ร่วมกับวิธีการออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษได้และสามารถเลือกใช้วิธีอื่นได้ขึ้นอยู่กับความสะดวก ระบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานเท่านั้นแต่ถ้าไม่ใช้งานระบบนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษได้ต่อไป
แนวทางการป้องกันการถูกเรียกภาษีย้อนหลัง มีดังนี้
1) ทำความเข้าใจภาษีธุรกิจทุกประเภท
เมื่อไหร่ที่เราทำธุรกิจในรูปแบบของ นิติบุคคล ธุรกิจนั้นจะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
2) ชำระภาษีให้ถูกต้อง
สิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการเรื่องสำหรับเจ้าของกิจการคือ ความตั้งใจที่จะเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยปกติ การเสียภาษีไม่ถูกต้องนั้นเกิดจากสาเหตุหลักแค่ 2 ประการคือ ประการแรก เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเรื่องใดต้องเสียภาษีบ้าง และประการที่สองคือการตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุใดก็ตาม หากธุรกิจไม่ได้เสียภาษีครบถ้วน ธุรกิจนั้นก็ต้องเสียค่าปรับพร้อมโดนเรียกภาษีย้อนหลังเหมือนกัน โดยจะใช้เหตุผลว่าไม่รู้ไม่ได้
กรณีที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับทุกธุรกิจคือ การพยายามหลบเลี่ยง เพราะถ้าเจ้าของธุรกิจมีความตั้งใจจะหลบเลี่ยงแล้ว การทำงานทั้งหมดขององค์กรจะกลายเป็นร่วมมือกันทั้งหมด ขอให้เข้าใจว่าการปกปิดข้อมูลนั้นทำได้ยากขึ้นทุกทีและได้ไม่คุ้มเสียเมื่อมีการตรวจพบและทำให้ต้องเสียค่าปรับได้
3) ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเสมอ
กรมสรรพากรจะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออกกฎหมายใหม่ๆเกี่ยวกับการเสียภาษีอยู่เสมอ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีนั้นเหมาะสมและทันกับวิธีการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องศึกษากฎ ระเบียบใหม่เหล่านี้อยู่เสมอ
การเสียภาษีให้ถูกต้อง เป็นหน้าที่ที่ธุรกิจทุกประเภทจะต้องจัดการให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมีประเด็นใดไม่แน่ใจในรายละเอียด ให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเช่น บริษัทรับทำบัญชีหรือสรรพากรเขตพื้นที่ที่ธุรกิจจัดตั้งอยู่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา : Krungthai SME
เมื่อเงินทุนจากเจ้าของกิจการ ไม่เพียงพอต่อการขยายธุรกิจ ก็ย่อมเกิดปัญหาเงินทุนสะดุด และอาจทำให้ธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้ วันนี้ เลยจะขอแนะนำ 4 วิธีแก้ปัญหาเงินทุนสะดุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs มาฝากกัน
1) Joint Venture
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ”การร่วมทุน” นั้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางออก สำหรับการแก้ปัญหาเงินทุนสะดุด ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน และ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ แต่ว่าการ Joint Venture นั้น ก็ต้องมีการทำสัญญาที่ชัดเจน และมีการตกลงกันมาอย่างดีแล้ว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเสียผลประโยชน์ หรือ ตกลงกันไม่ชัดเจนนั่นเอง
2) การหาผู้ถือหุ้นเพิ่ม
การหาผู้ถือหุ้นเพิ่ม คือการระดมทุนโดยให้สิทธิความเป็นเจ้าของแก่นักลงทุนด้วย ซึ่งแม้คุณจะได้เงินทุนมาช่วยไม่ให้ธุรกิจสะดุดก็จริง แต่คุณก็จะต้องเสียสิทธิในกิจการนั้นส่วนหนึ่ง ตามข้อตกลงของหุ้นส่วนกิจการนั้น ๆ ด้วย
3) ขายทรัพย์สิน
การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดนั้น อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีเท่าไร แต่ก็ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดได้ แต่ควรจะวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบกับธุรกิจในครั้งต่อไป
4) หาแหล่งเงินทุนที่ดอกเบี้ยถูกลง หรือ การขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ (Refinance)
อีกหนึ่งทางออกที่เจ้าของกิจการนิยมใช้มากที่สุดนั่นคือการ Refinance ซึ่งเป็นการขอสินเชื่อใหม่ เพื่อทดแทนสินเชื่อก้อนเดิม ซึ่งจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ พร้อมยังมีโอกาสได้สินเชื่อที่มากกว่าที่เก่า เพื่อนำมาหมุนเวียนเงินทุนได้ดีขึ้นอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ คือ 4 วิธีแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดในแบบคร่าว ๆ โดยผู้ประกอบการ ก็สามารถนำไปเลือกใช้ให้เหมาะกับกิจการของตัวเองได้
ที่มา : Krungthai SME
คำกล่าวที่ว่า Cash is King นั้นเป็นจริงเสมอสำหรับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณเงินสดหมุนเวียนในระบบน้อย การบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นทักษะที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ให้ดี บ่อยครั้งที่ธุรกิจเริ่มส่งญาณทางการเงินที่ไม่ดี แต่เจ้าของกลับไม่ได้ให้ความสนใจจึงทำให้ปัญหาใหญ่เกินแก้ไข และนี่คือ 5 สัญญานอันตรายทางการการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องคอยระวัง อย่าให้เกิดขึ้นเด็ดขาด
1) เงินสดในมือน้อยกว่า 6 เดือน
ตามหลักการบริหารทั่วไป ปริมาณเงินสดที่ต้องมีติดบัญชีไว้เสมอ คือไม่น้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าใช้จ่ายประจำ) ต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน หากธุรกิจใด มีเงินสดในกว่าจำนวนดังกล่าว ถือว่าธุรกิจมีสภาพคล่องในระดับอันตราย ต้องรีบจัดการกับเรื่องการเก็บเงินจากการขายและลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน
2) หนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่าย
สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำให้เรื่องการซื้อขายคือ การขายแล้วเก็บเงินได้เร็วและซื้อของแต่จ่ายเงินช้า และมันจะดีที่สุดถ้าเราสามารถใช้เวลาเก็บเงินได้น้อยกว่าระยะเวลาที่เราต้องจ่ายเงิน เพราะนั่นหมายถึงเราเอาเงินที่ได้จากลูกค้ามาจ่ายค่าสั่งซื้อโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินของเราเองเลย
แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะหนี้ค้างรับจากการขายเครดิตมักมีปริมาณมากเสมอ เมื่อใดที่ธุรกิจของเรามีหนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่ายติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน แสดงว่าธุรกิจของเราเริ่มมีสัญญานไม่ดีแล้ว ควรแก้ไขด้วยการออกมาตรการจูงใจให้ลูกค้าซื้อเงินสดหรือชำระเงินเร็วขึ้น รวมถึงการหยุดขายลูกค้าที่ชอบดึงเครดิตยาวๆ เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างหนี้และบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับปกติเสียก่อน
3) สต็อกมากเกินไป
มีประโยคที่ว่า ถ้าไม่รู้ว่าเงินของบริษัทหายไปไหน ก็ให้ไปดูที่คลังสินค้า ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ เพราะในการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เงินสดจะหายหรือเปลี่ยนสถานะเป็น 1 ใน 3 รายการนี้มากที่สุด ได้แก่ สินค้าคงคลังหรือสต็อก หนี้จากการขายที่ยังเก็บไม่ได้ และค่าใช้จ่ายที่ต้องทยอยจ่ายออกไปทุกเดือน ระดับสต็อกที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไป
4) ควบคุมรายจ่ายไม่ได้
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการบริหารการเงินคือ การไม่จดบันทึกรายการเงินเข้าออกว่ามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องใดบ้าง เมื่อไหรก็ตามที่เราดูเงินในบัญขีแล้วพบว่ามันน้อยลงแต่เรากลับไม่ทราบว่าเราจ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง นั่นแสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในขั้นอันตราย
5) EBIDTA ติดลบ
ถ้าธุรกิจของมีการทำบัญชีแบบจริงจัง สิ่งที่เจ้าของจะใช้เกณฑ์ตัดสินว่าธุรกิจนี้ดีพอจะเลี้ยงตัวเองหรือไม่คือ การดูกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA)
ธุรกิจที่ EBITDA ติดลบ คือธุรกิจที่รายได้จากการบริหารงานล้วนๆ น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น ธุรกิจที่มีกำไรก่อนหักค่าเสื่อมติดลบต่อเนื่องกว่า 3 เดือน ต้องถือว่าธุรกิจเริ่มอยู่ในสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจแล้ว ต้องรีบปรับแผนการทำงานอย่างเร่งด่วน
แม้ว่าเรื่องการบริหารการเงินจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคน แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องเรียนรู้ เพราะการวางแผนและบริหารการเงินที่ผิดพลาดอาจส่งผลถึงขั้นธุรกิจล่มสลายได้
ที่มา : Krungthai SME
1. การจ้างนักบัญชี โดยเฉพาะเจ้าของกิจการมือใหม่หัดบริหาร เพราะนักบัญชีที่จะมาดูแล จะเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถในการบริหารเงินเรื่องภาษีโดยตรง ไม่ใช่แค่ว่าคุณจะได้ประหยัดเงินภาษีแล้ว ยังทำให้กิจการของคุณในสายตาของกรมสรรพากรดูดีอีกด้วย
2. เลือกประเภทของกิจการให้ชัดเจน เพราะอัตราในการจ่ายภาษีแตกต่างกันค่อนข้างมากโดยมีปัจจัยขึ้นอยู่กับลักษณะของการจดทะเบียน โดยถ้าเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจะใช้รูปแบบของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบอัตราก้าวหน้าที่อาจจะเสียภาษีขั้นสูงสุดถึง 35% ส่วนบริษัทที่เป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในรูปแบบของนิติบุคคลโดยเฉพาะที่สามารถประหยัดเงินได้ โดยเสียในอัตราคงที่และมีขั้นสูงสุดอยู่เพียงแค่ 20% ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับลักษณะแบบแรก จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบที่มีรายได้มากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไปเลือกจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลน่าจะดีกว่าเพื่อเป็นการรองรับการเติบโตที่จะนำมาสู่รายได้ที่มากขึ้นในอนาคตด้วย
3. นำซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการระบบภายในองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีระบบย่อยๆ อย่างหลากหลาย เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ผู้ประกอบการต้องตามให้ทัน ใครที่จับจุดได้ก่อนก็เกาะกระแสธุรกิจไปได้ ถ้าผู้ประกอบการรู้จักเลือกใช้ระบบซอฟต์แวร์อย่างชาญฉลาด รับรองจะช่วยให้ธุรกิจของคุณไหลลื่นไปได้อีกไกล เพราะระบบจะช่วยลดต้นทุนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ช่วยจัดการข้อมูลให้เป็นก้อนเดียวกัน ไม่ต้องไปค้นหาจากหลายแหล่งให้เสียเวลา ซึ่งเวลาที่สุญเสียไปจะอยู่ในรูปต้นทุนแฝงที่ผู้ประกอบการอาจคาดไม่ถึง นอกจากนี้ก็ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายจากการนำระบบเข้ามาช่วยจัดการในองค์กร เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดรายจ่ายให้องค์กรได้อีกเป็นกอง
4. หักสิทธิลดหย่อนให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล หรือนิติบุคคล ก็สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้ตามกฎหมาย เพื่อเป็นการลดรายจ่ายของภาษี เมื่อมีสิทธิการหักลดหย่อนที่ตรงกับตนเองและธุรกิจแล้ว ขั้นต่อมาคือดำเนินการหักให้ได้เยอะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเป็นวิธีการช่วยลดรายจ่ายไปได้ค่อนข้างมากทีเดียว
5. ซื้อหน่วยลงทุน อีกวิธีที่จะมาเป็นตัวช่วยในการลดค่าใช้จ่ายภาษี โดยตามมาตรการของรัฐบาลคือผู้ประกอบการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน) ทั้งนี้ การให้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อ RMF,SSF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ในแต่ละปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย
6. ทำประกันภัย ลดหย่อนได้ การทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆให้กับทั้งตัวบริษัทและพนักงานเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยประหยัดค่าภาษีได้เป็นอย่างดี โดยใช้หลักการเงินนำเอาผลกำไรไปแปลสภาพเป็นรายจ่ายของทางบริษัทที่อยู่ในรูปแบบของการทำประกันภัยให้กับบริษัททั้งวินาศภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ หรือจะทำให้ในส่วนของตัวบุคคลทั้งผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งสามารถหักค่าลดหย่อนได้ถึง 100% และบริษัทยังมีเงินออมที่ได้จากการทำประกันเอาไว้ใช้สอยในอนาคตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท
รายจ่ายส่วนนี้ห้ามนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นอันขาด ซึ่งรายจ่ายของผู้บริหารบริษัทที่อยู่นอกระเบียบบริษัท เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท
ดังนั้นในทางที่ดีถ้าบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ก็ควรจะทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดเจน เช่น ระบุว่าผู้บริหารจะมีค่าน้ำมันเดือนละเท่าไร หรือถ้าพนักงานไปบวชหรือเสียชีวิต บริษัทจะให้เงินช่วยเหลือเท่าไรในฐานะของสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น
2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า
คนทำธุรกิจโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ก็ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่าต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย) และรายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย โดยเพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท หมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไป
3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ
รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ พูดง่ายๆ ก็คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อันนี้อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างอุปกรณ์สำนักงาน ล้างแอร์บริษัท หรือกระทั่งการจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งเอกสาร ประเด็นคือ รายจ่ายเหล่านี้ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ มันก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่ารายจ่ายพวกนี้จ่ายไปที่ใคร และจะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะมีการจ่ายเงินออกไปจริงก็ตาม
4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร เช่นบริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทก็ได้จริงๆ 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร ประเด็นคือ 7 บาทที่ว่านี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีเงินได้ เพราะในทางบัญชี ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่รายจ่ายของบริษัท แต่ทางบัญชีจะตั้งไว้เป็นหนี้สินรอนำส่ง บริษัทจะเป็นตัวกลางนำส่งภาษีให้กรมสรรพากรเท่านั้น
5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก
บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้
6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง
บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่วๆ ไปก็จะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งกรณีที่มันลดลง ในทางบัญชีปกติก็อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง แต่ในทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด
7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป
ในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง และในทางบัญชีโดยทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ สิ่งเหล่านี้ ในทางภาษีไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง
8. รายจ่ายค่าปรับ
ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัท ไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ ก็แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป และในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบริษัทจะเสียไปตรงนี้จริง ในทางภาษีเราไม่สามารถเอาพวกค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักกว้างๆ ว่าในทางภาษี เราไม่สามารถเอารายจ่ายแบบใดมาคิดคำนวณเพื่อหาผลกำไรของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี จริงๆ “รายจ่ายต้องห้าม” ก็ยังมีรายละเอียดไปจนถึงข้อยกเว้นอีกมาก ซึ่งเราสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ เว็บของกรรมสรรพากร
ที่มา : Krungthai SME
หลายคนคงเคยสงสัยว่า ถ้าจะจดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างใดอย่างนึ่งนั้น จะต้องเข้าในรูปแบบกิจการแบบไหนดี ทางเราจึงรวบรวมข้อแตกต่าง มาเปรียบเทียบให้ท่านดู เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการตัดสินใจที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด และเป็นประโยชน์สูงสุดในการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต
1) วิเคราะห์รายการค้าและบันทึกรายการบัญชี และรายการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้อง
2) จัดทำรายงานทางการเงิน :
– รายงานงบทดลอง
– รายงานงบต้นทุนผลิต
– รายงานงบต้นทุนขาย
– รายงานงบกำไร(ขาดทุน)
– รายงานงบแสดงฐานะการเงิน
3) จัดทำรายงานทางบัญชี :
– รายงานสมุดรายวันทั่วไป
– รายงานสมุดบัญชีแยกประเภท
– รายงานลูกหนี้คงเหลือ
– รายงานเจ้าหนี้คงเหลือ
– รายงานเช็คค้างรับ
– รายงานเช็คค้างจ่าย
– รายงานเงินสดรับ
– รายงานเงินสดจ่าย
4) ปิดงบบัญชีประจำปีให้ทันภายในระยะเวลาที่ทางหน่วยงานราชการกำหนด
5) ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชีหากถูกตรวจสอบ
6) จัดหาผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองงบการเงินของกิจการ
1) จัดเตรียมแบบภาษีเพื่อนำส่งกรมสรรพากรรายเดือน ได้แก่
– แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือน ค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1)
– แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)
– แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30, ภ.พ.36)
– แบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
2) จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรรายปี ได้แก่
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50)
– จัดทำรายงานสรุปเงินเดือนประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
– จัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.3ก)
– จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภ.ง.ด.94
3) จัดทำรายงานทางภาษี :
– รายงานภาษีซื้อ
– รายงานภาษีขาย
– รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย
– รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
1. บริการด้านบัญชี :
1.1) ปิดงบบัญชีประจำปีให้ทันภายในระยะเวลาที่ทางหน่วยงานราชการกำหนด
1.2) ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชีหากถูกตรวจสอบ
1.3) จัดหาผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองงบการเงินของกิจการ
1.4) วิเคราะห์รายการค้าและบันทึกรายการบัญชี และรายการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้อง
1.5) จัดทำรายงานงบการเงินเงินประจำงวด
1.6) จัดทำรายงานทางบัญชีและการเงิน
– รายงานสมุดรายวันทั่วไป
– รายงานสมุดบัญชีแยกประเภท
– รายงานสินค้าคงเหลือ
– รายงานลูกหนี้คงเหลือ
– รายงานเจ้าหนี้ี้คงเหลือ
– รายงานการรับ-จ่ายเงิน
– รายงานเช็ครับ
– รายงานเช็คจ่าย
– รายงานเงินมัดจำรับ
– รายงานเงินมัดจำจ่าย
2. บริการด้านภาษี :
2.1) จัดเตรียมแบบภาษีเพื่อนำส่งกรมสรรพากรรายเดือน ได้แก่
– แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือน ค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1)
– แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)
– แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30, ภ.พ.36)
– แบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
2.2) จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรรายปี ได้แก่
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50)
– จัดทำรายงานสรุปเงินเดือนประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
– จัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.3ก)
– จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภ.ง.ด.94
2.3) จัดทำรายงานทางภาษี :
– รายงานภาษีซื้อ
– รายงานภาษีขาย
– รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย
– รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
3. บริการด้านประกันสังคม :
3.1) ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ( สปส. 1-03 )
3.2) แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ( สปส. 6-09 )
3.3) นำส่งข้อมูลเงินสมทบประกันสังคม ( สปส. 1-10 )
4. บริการด้านโปรแกรมใช้งานในองค์กร ฟรี
5. บริการด้านการเก็บรักษาข้อมูลบนคลาวด์ ฟรี