: 999/234 หมู่ 3 ตำบลตลาด อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา 30310
: 086-3065298
: [email protected]
: 086-3065298, 086-3065808
: [email protected]
: bsvcenter
: ทุกวัน 24 ชม.
: 086-0239426, 086-8762555
: [email protected]
: จ – ส 09.00 – 18.00 น.
: 085-2096381
: [email protected]
: จ – ส 09.00 – 18.00 น.
Copyright © 2021 Business Value Co.,Ltd.
ที่มา : IPO Guide Book : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าเราดำเนินธุรกิจในลักษณะใด ธุรกิจซื้อมาขายไป หรือธุรกิจบริการ เนื่องจากมีเกณฑ์จุดความรับผิดชอบในภาษีมูลค่าเพิ่มต่างกัน การออกเอกสารการค้าจึงต่างกันไปด้วย
1) ธุรกิจขายสินค้า ซื้อมาขายไป
ตามระเบียบกรมสรรพากรต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อส่งมอบสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะขายเครดิตหรือขายเงินสดเมื่อส่งมอบสินค้าแล้วต้องออกใบกำกับภาษีทันที เอกสารที่ใช้จึงเป็น ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี จะรวมอยู่ในใบเดียวกันหรือจะแยกก็ได้
* จะเห็นว่าผู้ขายต้องรับภาระภาษีแล้ว แม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม(กรณีขายเครดิต)
ตัวอย่าง ขั้นตอนการออกเอกสาร
* หากต้องการลดขั้นตอนการทำงาน ในขั้นตอนการวางบิลลง อาจจะออกแบบเอกสารเป็น ใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้
2) ธุรกิจบริการ
จะออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับเงิน ดังนั้นเมื่อส่งมอบงานบริการ ก็จะออกเป็น ใบแจ้งหนี้ เพื่อเรียกเก็บเงินไปก่อนและเมื่อถึงกำหนดรับชำระหนี้ ก็จะออกเป็น ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
ตัวอย่าง ขั้นตอนการออกเอกสาร
สำหรับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจส่วนตัว และเข้าสู่ระบบนิติบุคคล การออกเอกสารการค้า เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเข้าใจความหมายของเอกสารทางการค้าแต่ละชนิด ดังต่อไปนี้
ใบแจ้งหนี้ ( Invoice)
คือ เอกสารที่ออกโดยบริษัทผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ แจ้งหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าที่ยังไม่ชำระเงิน หรือแจ้งในวันครบกำหนดการชำระเงิน สำหรับธุรกิจบริการ โดยในวันเสร็จงานจะออกเอกสารใบแจ้งหนี้ให้ลูกค้า และในวันที่ลูกค้าชำระเงินจะออกใบเสร็จและใบกำกับภาษีลงวันที่ตามวันที่จ่ายเงินให้ลูกค้า
ใบกำกับภาษี (Tax Invoice)
คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง
กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ
ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note)
คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะเหตุการณ์ตามที่ ระบุไว้ในมาตรา 82/9 ออกใบเพิ่มหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในเดือนภาษีที่เหตุการณ์ ดังกล่าวเกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ที่ไม่สามารถออกใบเพิ่มหนี้ได้ทันในเดือนภาษีที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ให้ออกใบเพิ่มหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการในเดือนภาษีถัดจากเดือนที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ใบเพิ่มหนี้ถือเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
ใบลดหนี้ หรือใบส่งคืน (Credit Note)
เป็นเอกสารสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษี ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามีการขายสินค้าโดยส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อไปแล้วถ้าต่อมาปรากฏว่ามูลค่าสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (ถ้าออกใบลดหนี้โดยไม่มีเหตุการณ์ที่กฎหมายกำหนดไว้นี้ จะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า)
ใบวางบิล (Billing Note)
หมายถึง เมื่อจบเดือน ซัพพลายเออร์จะต้องรวบรวมรายการสั่งของที่เกิดขึ้นทั้งหมดในเดือนนั้นใส่ใบแจ้งหนี้แล้วนำไปแจ้งหนี้นั้นมายื่นให้กับฝ่ายบัญชีของ บริษัทผู้ซื้อสินค้าเพื่อขอเก็บเงินสด ซึ่งบริษัทจะจ่ายเงินสดให้หลังจากวางบิลแล้วกี่วันก็แล้วแต่ตกลงกันไว้ว่าจะให้เครดิตกันกี่วัน
ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) หรือ ใบเสร็จ
เป็นเอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว การออกเอกสารดังกล่าวบางกรณีอาจออกเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในใบเสร็จรับเงินทั่วไปมักระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันและราคาที่ตกลงชำระ ซึ่งอาจระบุข้อมูลภาษีที่เกี่ยวข้องที่ผู้รับชำระเงินเก็บและนำส่งรัฐบาลอีกด้วย ใบเสร็จรับเงิน ยังหมายถึง เอกสารที่บริษัทออกให้กับลูกค้าที่ชำระเงินให้กับบริษัทตามใบแจ้งหนี้ที่เรียกเก็บ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับเงินเป็นการถูกต้องแล้ว
E-Tax Invoice by E-mail คืออะไร
การจัดทำใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ให้อยู่ในรูปของอิเล็คทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วทำการส่งผ่านระบบกลางของ สพธอ. (ETDA) เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยจดหมายอิเลิกทรอนิกส์ (E-mail)
โครงการ e-Tax Invoice by Email เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ไม่มีการบริหารจัดการด้านเอกสารที่เป็นระบบขนาดใหญ่ และอาจยังไม่พร้อมจะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนและสร้างความน่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการสามารถจัดทำ และนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้กับคู่ค้าทาง Email ผ่านการประทับรับรองเวลาและเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตต่อไป
คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะจัดทำ e-tax Invoice by Email
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และส่งอีเมลร่างใบกำกับภาษีดังกล่าว พร้อมสำเนา CC มายังระบบ [email protected] เพื่อระบบจะได้ทำการประทับเวลาแล้วจึงส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ประทับเวลาแล้วไปยังอีเมลของผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นเอกสารในการเสียภาษีโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
ขั้นตอนการสมัครระบบ e-Tax Invoice by Email
ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรตามแบบ ก.อ.๐๑ โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีจัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษี
ระบบ e-Tax Invoice by Email เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัย เพราะมีการพัฒนาระบบตามมาตรฐานของการรับส่งอีเมลที่มีการตรวจสอบการปลอมแปลงอีเมลตามรูปแบบ SPF (Sender Protocol Framework) และ Domain Key validation สำหรับข้อมูลของระบบนั้นได้รับการจัดเก็บที่หน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงมีประทับรับรองเวลาดิจิทัล (Digital Timestamping) กับใบกำกับฯ ด้วยเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure ซึ่งจะช่วยให้ธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและคู่ค้า ช่วยลดขั้นตอนวุ่นวายแบบเดิมๆ และยังลดปัญหาเอกสารใบกำกับภาษี ตกหล่น สูญหาย หรือความล่าช้าของการได้รับใบกำกับภาษีอีกด้วย ถ้าใช้ระบบนี้แล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นกระดาษ สามารถนำส่งและจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยและสามารถใช้วิธีการนี้ ร่วมกับวิธีการออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษได้และสามารถเลือกใช้วิธีอื่นได้ขึ้นอยู่กับความสะดวก ระบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานเท่านั้นแต่ถ้าไม่ใช้งานระบบนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษได้ต่อไป
แนวทางการป้องกันการถูกเรียกภาษีย้อนหลัง มีดังนี้
1) ทำความเข้าใจภาษีธุรกิจทุกประเภท
เมื่อไหร่ที่เราทำธุรกิจในรูปแบบของ นิติบุคคล ธุรกิจนั้นจะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
2) ชำระภาษีให้ถูกต้อง
สิ่งสำคัญที่สุดในการจัดการเรื่องสำหรับเจ้าของกิจการคือ ความตั้งใจที่จะเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยปกติ การเสียภาษีไม่ถูกต้องนั้นเกิดจากสาเหตุหลักแค่ 2 ประการคือ ประการแรก เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเรื่องใดต้องเสียภาษีบ้าง และประการที่สองคือการตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุใดก็ตาม หากธุรกิจไม่ได้เสียภาษีครบถ้วน ธุรกิจนั้นก็ต้องเสียค่าปรับพร้อมโดนเรียกภาษีย้อนหลังเหมือนกัน โดยจะใช้เหตุผลว่าไม่รู้ไม่ได้
กรณีที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับทุกธุรกิจคือ การพยายามหลบเลี่ยง เพราะถ้าเจ้าของธุรกิจมีความตั้งใจจะหลบเลี่ยงแล้ว การทำงานทั้งหมดขององค์กรจะกลายเป็นร่วมมือกันทั้งหมด ขอให้เข้าใจว่าการปกปิดข้อมูลนั้นทำได้ยากขึ้นทุกทีและได้ไม่คุ้มเสียเมื่อมีการตรวจพบและทำให้ต้องเสียค่าปรับได้
3) ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเสมอ
กรมสรรพากรจะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออกกฎหมายใหม่ๆเกี่ยวกับการเสียภาษีอยู่เสมอ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีนั้นเหมาะสมและทันกับวิธีการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องศึกษากฎ ระเบียบใหม่เหล่านี้อยู่เสมอ
การเสียภาษีให้ถูกต้อง เป็นหน้าที่ที่ธุรกิจทุกประเภทจะต้องจัดการให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมีประเด็นใดไม่แน่ใจในรายละเอียด ให้รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเช่น บริษัทรับทำบัญชีหรือสรรพากรเขตพื้นที่ที่ธุรกิจจัดตั้งอยู่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา : Krungthai SME
เมื่อเงินทุนจากเจ้าของกิจการ ไม่เพียงพอต่อการขยายธุรกิจ ก็ย่อมเกิดปัญหาเงินทุนสะดุด และอาจทำให้ธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้ วันนี้ เลยจะขอแนะนำ 4 วิธีแก้ปัญหาเงินทุนสะดุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs มาฝากกัน
1) Joint Venture
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ”การร่วมทุน” นั้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางออก สำหรับการแก้ปัญหาเงินทุนสะดุด ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุน และ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ แต่ว่าการ Joint Venture นั้น ก็ต้องมีการทำสัญญาที่ชัดเจน และมีการตกลงกันมาอย่างดีแล้ว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเสียผลประโยชน์ หรือ ตกลงกันไม่ชัดเจนนั่นเอง
2) การหาผู้ถือหุ้นเพิ่ม
การหาผู้ถือหุ้นเพิ่ม คือการระดมทุนโดยให้สิทธิความเป็นเจ้าของแก่นักลงทุนด้วย ซึ่งแม้คุณจะได้เงินทุนมาช่วยไม่ให้ธุรกิจสะดุดก็จริง แต่คุณก็จะต้องเสียสิทธิในกิจการนั้นส่วนหนึ่ง ตามข้อตกลงของหุ้นส่วนกิจการนั้น ๆ ด้วย
3) ขายทรัพย์สิน
การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดนั้น อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีเท่าไร แต่ก็ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดได้ แต่ควรจะวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบกับธุรกิจในครั้งต่อไป
4) หาแหล่งเงินทุนที่ดอกเบี้ยถูกลง หรือ การขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ (Refinance)
อีกหนึ่งทางออกที่เจ้าของกิจการนิยมใช้มากที่สุดนั่นคือการ Refinance ซึ่งเป็นการขอสินเชื่อใหม่ เพื่อทดแทนสินเชื่อก้อนเดิม ซึ่งจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ พร้อมยังมีโอกาสได้สินเชื่อที่มากกว่าที่เก่า เพื่อนำมาหมุนเวียนเงินทุนได้ดีขึ้นอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ คือ 4 วิธีแก้ปัญหาเงินทุนสะดุดในแบบคร่าว ๆ โดยผู้ประกอบการ ก็สามารถนำไปเลือกใช้ให้เหมาะกับกิจการของตัวเองได้
ที่มา : Krungthai SME
คำกล่าวที่ว่า Cash is King นั้นเป็นจริงเสมอสำหรับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณเงินสดหมุนเวียนในระบบน้อย การบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นทักษะที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ให้ดี บ่อยครั้งที่ธุรกิจเริ่มส่งญาณทางการเงินที่ไม่ดี แต่เจ้าของกลับไม่ได้ให้ความสนใจจึงทำให้ปัญหาใหญ่เกินแก้ไข และนี่คือ 5 สัญญานอันตรายทางการการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องคอยระวัง อย่าให้เกิดขึ้นเด็ดขาด
1) เงินสดในมือน้อยกว่า 6 เดือน
ตามหลักการบริหารทั่วไป ปริมาณเงินสดที่ต้องมีติดบัญชีไว้เสมอ คือไม่น้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าใช้จ่ายประจำ) ต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน หากธุรกิจใด มีเงินสดในกว่าจำนวนดังกล่าว ถือว่าธุรกิจมีสภาพคล่องในระดับอันตราย ต้องรีบจัดการกับเรื่องการเก็บเงินจากการขายและลดค่าใช้จ่ายอย่างเร่งด่วน
2) หนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่าย
สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำให้เรื่องการซื้อขายคือ การขายแล้วเก็บเงินได้เร็วและซื้อของแต่จ่ายเงินช้า และมันจะดีที่สุดถ้าเราสามารถใช้เวลาเก็บเงินได้น้อยกว่าระยะเวลาที่เราต้องจ่ายเงิน เพราะนั่นหมายถึงเราเอาเงินที่ได้จากลูกค้ามาจ่ายค่าสั่งซื้อโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินของเราเองเลย
แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะหนี้ค้างรับจากการขายเครดิตมักมีปริมาณมากเสมอ เมื่อใดที่ธุรกิจของเรามีหนี้ค้างรับสูงกว่าหนี้ค้างจ่ายติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน แสดงว่าธุรกิจของเราเริ่มมีสัญญานไม่ดีแล้ว ควรแก้ไขด้วยการออกมาตรการจูงใจให้ลูกค้าซื้อเงินสดหรือชำระเงินเร็วขึ้น รวมถึงการหยุดขายลูกค้าที่ชอบดึงเครดิตยาวๆ เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างหนี้และบริหารเงินสดให้อยู่ในระดับปกติเสียก่อน
3) สต็อกมากเกินไป
มีประโยคที่ว่า ถ้าไม่รู้ว่าเงินของบริษัทหายไปไหน ก็ให้ไปดูที่คลังสินค้า ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ เพราะในการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เงินสดจะหายหรือเปลี่ยนสถานะเป็น 1 ใน 3 รายการนี้มากที่สุด ได้แก่ สินค้าคงคลังหรือสต็อก หนี้จากการขายที่ยังเก็บไม่ได้ และค่าใช้จ่ายที่ต้องทยอยจ่ายออกไปทุกเดือน ระดับสต็อกที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไป
4) ควบคุมรายจ่ายไม่ได้
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการบริหารการเงินคือ การไม่จดบันทึกรายการเงินเข้าออกว่ามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องใดบ้าง เมื่อไหรก็ตามที่เราดูเงินในบัญขีแล้วพบว่ามันน้อยลงแต่เรากลับไม่ทราบว่าเราจ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง นั่นแสดงว่าธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในขั้นอันตราย
5) EBIDTA ติดลบ
ถ้าธุรกิจของมีการทำบัญชีแบบจริงจัง สิ่งที่เจ้าของจะใช้เกณฑ์ตัดสินว่าธุรกิจนี้ดีพอจะเลี้ยงตัวเองหรือไม่คือ การดูกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA)
ธุรกิจที่ EBITDA ติดลบ คือธุรกิจที่รายได้จากการบริหารงานล้วนๆ น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น ธุรกิจที่มีกำไรก่อนหักค่าเสื่อมติดลบต่อเนื่องกว่า 3 เดือน ต้องถือว่าธุรกิจเริ่มอยู่ในสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจแล้ว ต้องรีบปรับแผนการทำงานอย่างเร่งด่วน
แม้ว่าเรื่องการบริหารการเงินจะดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคน แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่คนทำธุรกิจทุกคนต้องเรียนรู้ เพราะการวางแผนและบริหารการเงินที่ผิดพลาดอาจส่งผลถึงขั้นธุรกิจล่มสลายได้
ที่มา : Krungthai SME
1. การจ้างนักบัญชี โดยเฉพาะเจ้าของกิจการมือใหม่หัดบริหาร เพราะนักบัญชีที่จะมาดูแล จะเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความสามารถในการบริหารเงินเรื่องภาษีโดยตรง ไม่ใช่แค่ว่าคุณจะได้ประหยัดเงินภาษีแล้ว ยังทำให้กิจการของคุณในสายตาของกรมสรรพากรดูดีอีกด้วย
2. เลือกประเภทของกิจการให้ชัดเจน เพราะอัตราในการจ่ายภาษีแตกต่างกันค่อนข้างมากโดยมีปัจจัยขึ้นอยู่กับลักษณะของการจดทะเบียน โดยถ้าเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจะใช้รูปแบบของการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบอัตราก้าวหน้าที่อาจจะเสียภาษีขั้นสูงสุดถึง 35% ส่วนบริษัทที่เป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในรูปแบบของนิติบุคคลโดยเฉพาะที่สามารถประหยัดเงินได้ โดยเสียในอัตราคงที่และมีขั้นสูงสุดอยู่เพียงแค่ 20% ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับลักษณะแบบแรก จึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบที่มีรายได้มากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไปเลือกจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลน่าจะดีกว่าเพื่อเป็นการรองรับการเติบโตที่จะนำมาสู่รายได้ที่มากขึ้นในอนาคตด้วย
3. นำซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยจัดการระบบภายในองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีระบบย่อยๆ อย่างหลากหลาย เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ผู้ประกอบการต้องตามให้ทัน ใครที่จับจุดได้ก่อนก็เกาะกระแสธุรกิจไปได้ ถ้าผู้ประกอบการรู้จักเลือกใช้ระบบซอฟต์แวร์อย่างชาญฉลาด รับรองจะช่วยให้ธุรกิจของคุณไหลลื่นไปได้อีกไกล เพราะระบบจะช่วยลดต้นทุนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ช่วยจัดการข้อมูลให้เป็นก้อนเดียวกัน ไม่ต้องไปค้นหาจากหลายแหล่งให้เสียเวลา ซึ่งเวลาที่สุญเสียไปจะอยู่ในรูปต้นทุนแฝงที่ผู้ประกอบการอาจคาดไม่ถึง นอกจากนี้ก็ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายจากการนำระบบเข้ามาช่วยจัดการในองค์กร เพียงเท่านี้ ก็ช่วยลดรายจ่ายให้องค์กรได้อีกเป็นกอง
4. หักสิทธิลดหย่อนให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล หรือนิติบุคคล ก็สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้ตามกฎหมาย เพื่อเป็นการลดรายจ่ายของภาษี เมื่อมีสิทธิการหักลดหย่อนที่ตรงกับตนเองและธุรกิจแล้ว ขั้นต่อมาคือดำเนินการหักให้ได้เยอะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเป็นวิธีการช่วยลดรายจ่ายไปได้ค่อนข้างมากทีเดียว
5. ซื้อหน่วยลงทุน อีกวิธีที่จะมาเป็นตัวช่วยในการลดค่าใช้จ่ายภาษี โดยตามมาตรการของรัฐบาลคือผู้ประกอบการสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อและถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน) ทั้งนี้ การให้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อ RMF,SSF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ในแต่ละปี และต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย
6. ทำประกันภัย ลดหย่อนได้ การทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆให้กับทั้งตัวบริษัทและพนักงานเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยประหยัดค่าภาษีได้เป็นอย่างดี โดยใช้หลักการเงินนำเอาผลกำไรไปแปลสภาพเป็นรายจ่ายของทางบริษัทที่อยู่ในรูปแบบของการทำประกันภัยให้กับบริษัททั้งวินาศภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ หรือจะทำให้ในส่วนของตัวบุคคลทั้งผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งสามารถหักค่าลดหย่อนได้ถึง 100% และบริษัทยังมีเงินออมที่ได้จากการทำประกันเอาไว้ใช้สอยในอนาคตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท
รายจ่ายส่วนนี้ห้ามนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นอันขาด ซึ่งรายจ่ายของผู้บริหารบริษัทที่อยู่นอกระเบียบบริษัท เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท
ดังนั้นในทางที่ดีถ้าบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ก็ควรจะทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดเจน เช่น ระบุว่าผู้บริหารจะมีค่าน้ำมันเดือนละเท่าไร หรือถ้าพนักงานไปบวชหรือเสียชีวิต บริษัทจะให้เงินช่วยเหลือเท่าไรในฐานะของสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น
2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า
คนทำธุรกิจโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ก็ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่าต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย) และรายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย โดยเพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท หมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไป
3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ
รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ พูดง่ายๆ ก็คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อันนี้อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างอุปกรณ์สำนักงาน ล้างแอร์บริษัท หรือกระทั่งการจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งเอกสาร ประเด็นคือ รายจ่ายเหล่านี้ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ มันก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่ารายจ่ายพวกนี้จ่ายไปที่ใคร และจะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะมีการจ่ายเงินออกไปจริงก็ตาม
4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร เช่นบริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทก็ได้จริงๆ 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร ประเด็นคือ 7 บาทที่ว่านี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีเงินได้ เพราะในทางบัญชี ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่รายจ่ายของบริษัท แต่ทางบัญชีจะตั้งไว้เป็นหนี้สินรอนำส่ง บริษัทจะเป็นตัวกลางนำส่งภาษีให้กรมสรรพากรเท่านั้น
5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก
บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้
6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง
บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่วๆ ไปก็จะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งกรณีที่มันลดลง ในทางบัญชีปกติก็อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง แต่ในทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด
7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป
ในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง และในทางบัญชีโดยทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ สิ่งเหล่านี้ ในทางภาษีไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง
8. รายจ่ายค่าปรับ
ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัท ไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ ก็แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป และในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบริษัทจะเสียไปตรงนี้จริง ในทางภาษีเราไม่สามารถเอาพวกค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักกว้างๆ ว่าในทางภาษี เราไม่สามารถเอารายจ่ายแบบใดมาคิดคำนวณเพื่อหาผลกำไรของบริษัทได้ อย่างไรก็ดี จริงๆ “รายจ่ายต้องห้าม” ก็ยังมีรายละเอียดไปจนถึงข้อยกเว้นอีกมาก ซึ่งเราสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ เว็บของกรรมสรรพากร
ที่มา : Krungthai SME
หลายคนคงเคยสงสัยว่า ถ้าจะจดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างใดอย่างนึ่งนั้น จะต้องเข้าในรูปแบบกิจการแบบไหนดี ทางเราจึงรวบรวมข้อแตกต่าง มาเปรียบเทียบให้ท่านดู เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการตัดสินใจที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด และเป็นประโยชน์สูงสุดในการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต
1) วิเคราะห์รายการค้าและบันทึกรายการบัญชี และรายการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้อง
2) จัดทำรายงานทางการเงิน :
– รายงานงบทดลอง
– รายงานงบต้นทุนผลิต
– รายงานงบต้นทุนขาย
– รายงานงบกำไร(ขาดทุน)
– รายงานงบแสดงฐานะการเงิน
3) จัดทำรายงานทางบัญชี :
– รายงานสมุดรายวันทั่วไป
– รายงานสมุดบัญชีแยกประเภท
– รายงานลูกหนี้คงเหลือ
– รายงานเจ้าหนี้คงเหลือ
– รายงานเช็คค้างรับ
– รายงานเช็คค้างจ่าย
– รายงานเงินสดรับ
– รายงานเงินสดจ่าย
4) ปิดงบบัญชีประจำปีให้ทันภายในระยะเวลาที่ทางหน่วยงานราชการกำหนด
5) ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชีหากถูกตรวจสอบ
6) จัดหาผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองงบการเงินของกิจการ
1) จัดเตรียมแบบภาษีเพื่อนำส่งกรมสรรพากรรายเดือน ได้แก่
– แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือน ค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1)
– แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)
– แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30, ภ.พ.36)
– แบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
2) จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรรายปี ได้แก่
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50)
– จัดทำรายงานสรุปเงินเดือนประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
– จัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.3ก)
– จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภ.ง.ด.94
3) จัดทำรายงานทางภาษี :
– รายงานภาษีซื้อ
– รายงานภาษีขาย
– รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย
– รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
1. บริการด้านบัญชี :
1.1) ปิดงบบัญชีประจำปีให้ทันภายในระยะเวลาที่ทางหน่วยงานราชการกำหนด
1.2) ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชีหากถูกตรวจสอบ
1.3) จัดหาผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองงบการเงินของกิจการ
1.4) วิเคราะห์รายการค้าและบันทึกรายการบัญชี และรายการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้อง
1.5) จัดทำรายงานงบการเงินเงินประจำงวด
1.6) จัดทำรายงานทางบัญชีและการเงิน
– รายงานสมุดรายวันทั่วไป
– รายงานสมุดบัญชีแยกประเภท
– รายงานสินค้าคงเหลือ
– รายงานลูกหนี้คงเหลือ
– รายงานเจ้าหนี้ี้คงเหลือ
– รายงานการรับ-จ่ายเงิน
– รายงานเช็ครับ
– รายงานเช็คจ่าย
– รายงานเงินมัดจำรับ
– รายงานเงินมัดจำจ่าย
2. บริการด้านภาษี :
2.1) จัดเตรียมแบบภาษีเพื่อนำส่งกรมสรรพากรรายเดือน ได้แก่
– แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากเงินเดือน ค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1)
– แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)
– แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30, ภ.พ.36)
– แบบภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
2.2) จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรรายปี ได้แก่
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
– จัดทำแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50)
– จัดทำรายงานสรุปเงินเดือนประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
– จัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.3ก)
– จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91, ภ.ง.ด.94
2.3) จัดทำรายงานทางภาษี :
– รายงานภาษีซื้อ
– รายงานภาษีขาย
– รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย
– รายงานภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
3. บริการด้านประกันสังคม :
3.1) ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ( สปส. 1-03 )
3.2) แจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ( สปส. 6-09 )
3.3) นำส่งข้อมูลเงินสมทบประกันสังคม ( สปส. 1-10 )
4. บริการด้านโปรแกรมใช้งานในองค์กร ฟรี
5. บริการด้านการเก็บรักษาข้อมูลบนคลาวด์ ฟรี